top of page

สรุปองค์ความรู้ภาษาไทย

หลักการจับใจความสำคัญ

          ๑. ตั้งจุดมุ่งหมายในการอ่านให้ชัดเจน

          ๒. อ่านเรื่องราวอย่างคร่าวๆ พอเข้าใจ และเก็บใจความสำคัญของแต่ละย่อหน้า

          ๓. เมื่ออ่านจบให้ตั้งคำถามตนเองว่า เรื่องที่อ่าน มีใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร

          ๔. นำสิ่งที่สรุปได้มาเรียบเรียงใจความสำคัญใหม่ด้วยสำนวนของตนเองเพื่อให้เกิดความสละสลวย

วิธีจับใจความสำคัญ

          วิธีการจับใจความมีหลายอย่าง ขึ้นอยู่กับความชอบว่าอย่างไร เช่น การขีดเส้นใต้ การใช้สีต่างๆ กัน แสดงความสำคัญมากน้อยของข้อความ การบันทึกย่อเป็นส่วนหนึ่งของการอ่านจับใจความสำคัญที่ดี แต่ผู้ที่ย่อควรย่อด้วยสำนวนภาษาและสำนวนของตนเองไม่ควรย่อด้วยการตัดเอาข้อความสำคัญมาเรียงต่อกัน เพราะอาจทำให้ผู้อ่านพลาดสาระสำคัญบางตอนไปอันเป็นเหตุให้การตีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนได้  วิธีจับใจความสำคัญมีหลักดังนี้

          ๑. พิจารณาทีละย่อหน้า หาประโยคใจความสำคัญของแต่ละย่อหน้า

          ๒. ตัดส่วนที่เป็นรายละเอียดออกได้ เช่น ตัวอย่าง สำนวนโวหาร อุปมาอุปไมย(การเปรียบเทียบ) ตัวเลข สถิติ ตลอดจนคำถามหรือคำพูดของผู้เขียนซึ่งเป็นส่วนขยายใจความสำคัญ

          ๓. สรุปใจความสำคัญด้วยสำนวนภาษาของตนเอง

การพิจารณาตำแหน่งใจความสำคัญ

          ใจความสำคัญของข้อความในแต่ละย่อหน้าจะปรากฏดังนี้

                   ๑.   ประโยคใจความสำคัญอยู่ตอนต้นของย่อหน้า

                   ๒.   ประโยคใจความสำคัญอยู่ตอนกลางของย่อหน้า

                   ๓.   ประโยคใจความสำคัญอยู่ตอนท้ายของย่อหน้า

                   ๔.  ประโยคใจความสำคัญอยู่ตอนต้นและตอนท้ายของย่อหน้า

                   ๕.   ผู้อ่านสรุปขึ้นเอง จากการอ่านทั้งย่อหน้า(ในกรณีใจความสำคัญหรือความคิดสำคัญอาจอยู่รวมในความคิดย่อย ๆ โดยไม่มีความคิดที่เป็นประโยคหลัก)

bottom of page